Research to Innovation

ผลงานวิจัย

>Research to Innovation
Food for Health
Environment Health
Disease Control and Prevention
Health risk factors

งานวิจัยที่ได้รับสิทธิบัตร

การผลิตเยลลี่ข้าวไรซ์เบอรี่ (ทุน สกสว.)

ยื่นขออนุสิทธิบัตร: จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา
เรื่อง: สูตรและกรรมวิธีการผลิตเยลลี่ข้าวไรซ์เบอรี่
เลขที่คำขอ: 2003000475 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2563
โดย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พร้อมลักษณ์ สรรพ่อค้า

การพัฒนาอาหารข้นหนืดตำหรับไทยสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะกลืนลำบาก (ทุน สกสว)

ยื่นขออนุสิทธิบัตร: จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา
เรื่อง: สูตรและกรรมวิธีการผลิตเพียวเร่สำหรับผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก มี 4 สูตร คือ
1. ข้าวเหนียวมูนเพียวเร่
2. มะม่วงเพียวเร่
3. ข้าวไรซ์เบอรี่เพียวเร่
4. ต้มข่าไก่เพียวเร่
เลขที่คำขอ: 2003000274 เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563
เซ็นสัญญาการถ่ายทอดเทคโนโลยีสูตรและกรรมวิธีการผลิตอาหารข้นหนืดตำรับไทย ให้บริษัท ดรีมไมนิ่ง จำกัด เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2562
โดย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พร้อมลักษณ์ สรรพ่อค้า

การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ สำหรับผู้ป่วยที่มีเบาหวาน โดยใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบหลัก เพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์นำเข้าจากต่างประเทศ: การพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตอาหารทางการแพทย์ (ปีที่ 1) (ทุนวิจัยของ สวก.)

ยื่นขออนุสิทธิบัตร: 2 ฉบับ จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา
ฉบับที่ 1 เรื่อง: วิธีการเตรียมข้าวกล้องดัดแปลง ชนิดผง ที่มีแป้งทนย่อย ค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ และคุณค่าทางโภชนาการ จากข้าวเปลือก เพื่อผลิตอาหารทางการแพทย์
กำลังยื่นขอจดสิทธิบัตร: เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2563 บริษัท ดีโอดี ไบโอเทค ขอใช้สิทธิ์
โดย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภัทร์ ไชยกุล

การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ สำหรับผู้ป่วยที่มีเบาหวาน โดยใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบหลัก เพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์นำเข้าจากต่างประเทศ: การพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตอาหารทางการแพทย์ (ปีที่ 1) (ทุนวิจัยของ สวก.)

ยื่นขออนุสิทธิบัตร: 2 ฉบับ จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา
ฉบับที่ 2 เรื่อง: วิธีการเตรียมข้าวกล้องและข้าวขาวดัดแปลง ที่มีแป้งทนย่อยสูง และค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เพื่อผลิตอาหารทางการแพทย์
กำลังยื่นขอจดสิทธิบัตร: เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2563 บริษัท ดีโอดี ไบโอเทค ขอใช้สิทธิ์
โดย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภัทร์ ไชยกุล

เครื่องดื่มกระตุ้นความอยากอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

ยื่นขออนุสิทธิบัตร: จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา
เรื่อง: เครื่องดื่มน้ำผักผลไม้ผสมสมุนไพร
เลขที่คำขอ: 1903002818, 1903002819, 1903002830 เมื่อวันที่ 31 เดือน ตุลาคม 2562
โดย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล

การพัฒนาเต้าหู้จากผลิตผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันถั่วดาวอินคา (ทุน สกสว)

ยื่นขออนุสิทธิบัตร: จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา
เรื่อง: โปรตีนขึ้นรูป
เลขที่คำขอ: 1903001534 เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562
เซ็นสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ "การถ่ายทอดเทคโนโลยีและกรรมวิธีการผลิตโปรตีนขึ้นรูปจากถั่วดาวอินคา" ให้กับบริษัท นิเคโอะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด วันที่ 16 มกราคม 2563
โดย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พร้อมลักษณ์ สรรพ่อค้า

การผลิตมาร์การีนจากน้ำมันรำข้าวด้วยวิธีการแช่แข็งร่วมกับ การดัดแปลงโครงสร้างของน้ำมัน (ทุนสำนักพัฒนาการวิจัยการเกษตร (มหาชน))

ยื่นขออนุสิทธิบัตร: จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา
เรื่อง: ออร์แกโนเจลอิมัลชั่นจากน้ำมันรำข้าวที่ปราศจากกรดไขมันทรานส์ และกรรมวิธีการผลิต
เลขที่คำขอ: 1903000219 เมื่อ 29 มกราคม 2562
โดย: รองศาสตราจารย์ ดร.สุภัทรา ลิลิตชาญ

งานวิจัยที่ได้รับสิทธิบัตร

เว็บแอปพลิเคชันเพื่อการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับสถานีบริการน้ำมันในประเทศไทย

ยื่นขออนุสิทธิบัตร: จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา
ชื่อผลงาน: เว็บแอปพลิเคชันเพื่อการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับสถานีบริการน้ำมันในประเทศไทย (A Web-based Application for Carbon Footprint Analysis of Petrol Station in Thailand: Registration)
เลขที่คำขอ: ว1.008507 เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563
โดย: ผศ.ดร.สุพพัต ควรพงษากุล

เว็บแอปพลิเคชันเพื่อการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับอุตสาหกรรมชำแหละเนื้อสัตว์ในประเทศไทย

ยื่นขออนุสิทธิบัตร: จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา
ชื่อผลงาน: เว็บแอปพลิเคชันเพื่อการวิเคราะห์คาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับอุตสาหกรรมชำแหละเนื้อสัตว์ในประเทศไทย (A Web-based Application for Carbon Footprint Analysis of Slaughterhouse Industry in Thailand)
เลขที่คำขอ: ว1.008514 เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563
โดย: ผศ.ดร.สุพพัต ควรพงษากุล

งานวิจัยที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ ด้านสิ่งแวดล้อม

Sanitizer Truck: นวัตกรรมรถสูบสิ่งปฏิกูลพร้อมระบบบำบัด

ผศ.ดร. ธงชัย ขนาบแก้ว ภาควิชาวิศวกรรมสุขาภิบาล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล: ร่วมทีมวิจัยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) และบริษัท Inc Square จำกัด ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากการร่วมโครงการและนำเสนอ Edena Truck (Sanitizer Truck) รถสูบสิ่งปฏิกูลพร้อมระบบบำบัด ในงาน SPRINT Accelerator Batch 3 Demo Day สำหรับ Deeptech Startup ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2562 (https://techsauce.co/news/sprint-accelerator-batch-3-demo-day)

ทั้งนี้ SPRINT เป็นโครงการบ่มเพาะและสนับสนุน (Incubator and Accelerator) โครงการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย

การพัฒนาวิธีเรียลไทม์ อาร์ที-พีซีอาร์ และการตรวจจีโนไทป์ไวรัสโนโร เพื่อเฝ้าระวังโรคกระเพาะ อาหารและลำไส้อักเสบเฉียบพลันจากอาหารและน้ำ

โดย ศาสตราจารย์ ดร. ลีรา กิตติกูล และ นางสาวกรรณิการ์ ป้อมบุบผา
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คุณลักษณะของผลงาน / จุดเด่น
วิธีเรียล-ไทม์ อาร์ที-พีซีอาร์ (one-step TaqMan real-time RT-PCR) ที่พัฒนาขึ้นมีความไวและความจำเพาะสูง ในการตรวจหาปริมาณไวรัสโนโร (norovirus) ในอุจจาระ หอยนางรม น้ำที่นำกลับมาใช้ใหม่ และกากตะกอนน้ำเสีย การตรวจพิสูจน์จีโนไทป์ไวรัสโนโรโดยใช้วิธีอาร์ที-เนสต์ พีซีอาร์ (RT-nested PCR) และประเมินความหลากหลายทางยีนของไวรัสโนโรโดยใช้ข้อมูลชีวสารสนเทศศาสตร์ ผลการศึกษาเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ตรวจพบไวรัสโนโรจีโนกรุ๊ป IV ในหอยนางรมซึ่งตรวจพบได้ยาก และไวรัสโนโรสายพันธุ์รีคอมบิแนนท์ (recombinant norovirus strains) ในกากตะกอนน้ำเสียซึ่งยังไม่เคยมีรายงานมาก่อน

การนำไปใช้ประโยชน์
ใช้ในการเฝ้าระวังโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบเฉียบพลันจากไวรัสโนโร สอบสวนการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษจากไวรัส ในค่ายลูกเสือและโรงแรม ที่มีน้ำเป็นสื่อนำ เผยแพร่ผลงานวิจัย ตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ 5 เรื่อง เอกสารจากการประชุมวิชาการ 3 เรื่อง นำเสนอในการประชุมนานาชาติ 2 เรื่อง และ ผลิตนักศึกษาปริญญาโท-เอก 5 คน

'เครื่องนวดเท้าช่วยเลิกบุหรี่'

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.มณฑา เก่งการพานิช
ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คุณลักษณะของผลงาน / จุดเด่น
ภัยจากบุหรี่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จน องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้คาดการณ์ไว้ว่าภายในปี พ.ศ.2573 จะมีประชากรโลกเสียชีวิตเนื่องจากการสูบบุหรี่ถึงปีละ 8 ล้านคน ซึ่งในส่วนของประเทศไทยอัตราการสูบบุหรี่มีแนวโน้มลดลงช้ามากจากร้อยละ 19.9 ในปี 2556 เป็นร้อยละ 19.1 ในปี 2560 หรือคิดเป็นจำนวนผู้สูบ 10.7 ล้านคน อัตราสูบบุหรี่สูงอยู่ในภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้สูบบุหรี่อยู่นอกเขตเทศบาล/หรือชนบท (ร้อยละ 20.9) โดยส่วนใหญ่สูบบุหรี่มวนเอง สูงกว่าในเมือง (ร้อยละ 17.0) แผนควบคุมยาสูบแห่งชาติได้มีการตั้งเป้าหมายลดอัตราการสูบบุหรี่ทุกชนิดให้เหลือร้อยละ 15 ในปี พ.ศ.2568 ทั้งนี้เพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงของโรคเรื้อรัง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดสมอง อีกด้วย

ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข จึงได้มีการขับเคลื่อนครั้งใหญ่ในปี 2560 - 2563 ในโครงการ 3 ล้าน 3 ปีเลิกบุหรี่ทั่วไทยเทิดไท้องค์ราชัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ให้เหลือร้อยละ 15 โดยแพทย์ทางเลือกไทยซึ่งได้ถูกนำมาเผยแพร่นานาวิธีธรรมชาติที่ช่วยเลิกบุหรี่โดยไม่ใช้ยา ทั้งการใช้ผลไม้รสเปรี้ยว และสมุนไพรไทยต่างๆ รวมทั้งการนวดกดจุดเท้าเพื่อช่วยเลิกบุหรี่ ซึ่งได้มีการจัดอบรมนวดกดจุดเท้าช่วยเลิกบุหรี่ให้ทุกเขตสุขภาพ และแกนนำ หรือวิทยากรกลุ่มแรก ให้ทุกจังหวัดๆ ละ 10 คนเพื่อให้นำไปอบรมขยายผลเผยแพร่ต่อไป ซึ่งพบว่ามีการนำไปใช้ที่ยังไม่แพร่หลายด้วยอุปสรรคนานาประการ อาทิ ความพร้อมของบุคลากร ความแตกต่างของการนวด ดังนั้น ผู้เขียนและทีมงาน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งทำงานควบคุมยาสูบในชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง จึงได้พัฒนาเครื่องนวดเท้าช่วยเลิกบุหรี่ขึ้น ทั้งนี้หวังให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดีได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามมาตรการรักษาระยะห่าง

โจทย์ของการพัฒนานวัตกรรมเครื่องนวดเท้าช่วยเลิกบุหรี่ คือ ทำอย่างไรจึงจะได้เครื่องนวดเท้าที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน ใช้งานง่าย เข้าถึงได้ง่าย และราคาถูก ซึ่งจากการลงพื้นที่ชุมชนเพื่ออบรมเผยแพร่วิธีการนวดเท้าช่วยเลิกบุหรี่ ให้แก่บุคลากรสาธารณสุข แพทย์แผนไทย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) แกนนำ ตลอดจนผู้สนใจตามชุมชนในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ยังไม่สามารถทำได้ครอบคลุมพื้นที่ ได้มีการเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์และการวิจัยเพื่อพัฒนาเป็นนวัตกรรมเครื่องนวดเท้าช่วยเลิกบุหรี่ โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายภายในท้องถิ่น มาทำเป็นรองเท้านวดติดเซนเซอร์ เพื่อช่วยในการนวดกดจุดบริเวณนิ้วโป้งเท้า โดยได้มีการทดลองกับรองเท้าแตะที่ทำมาจากวัสดุหลายแบบ ได้แก่ ยาง ผ้า ไม้ และรองเท้าสาน ซึ่งสามารถควบคุมการใช้งานด้วยระบบรีโมท และต่อไปจะพัฒนาต่อยอดเป็นแผ่นนวดที่ง่ายต่อการพกพา

ซึ่งนวัตกรรมเครื่องนวดกดจุดเท้าเพื่อเลิกบุหรี่นี้ไม่ถือเป็นเครื่องแพทย์ โดยอุปกรณ์เซนเซอร์ที่นำมาติดกับตัวรองเท้า และแผ่นนวด ใช้กระแสไฟฟ้าเพียง 3 โวลต์ ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ โดยเซนเซอร์จะไปกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และเกิดการผ่อนคลาย ซึ่งอาจต่อยอดนำไปประยุกต์ใช้ในการบำบัดการเสพติดอื่นๆ ได้ เช่น การเสพติดสุรา โดยได้เสนอเป็นโครงการพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม และจะนำไปบูรณาการเพื่อใช้ในการส่งเสริมสุขภาวะของคนไทยในระดับนโยบายต่อไป ซึ่งจากการพัฒนานวัตกรรมโดยเอาประโยชน์ของปวงชนเป็นตัวตั้งนี้ ถือเป็นพันธกิจสำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดลตามปณิธานแห่งการเป็น "ปัญญาของแผ่นดิน" ที่สร้างสรรค์องค์ความรู้เพื่อสังคมและประเทศชาติ