เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขในประเทศทั่วโลก โดยปัจจุบันในประเทศไทยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด - 19 ยังคงดำเนินต่อไปและส่งผลให้ "ขยะติดเชื้อ" จากการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด -19 มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นจากการที่เราต้องใช้ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) ด้วยตนเองอยู่บ่อย ๆ รวมถึงหน้ากากอนามัยที่ต้องเปลี่ยนใหม่ในทุกวัน ดังนั้น การคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง จะช่วยลดปริมาณขยะติดเชื้อ ทั้งยังช่วยลดการแพร่กระจายของไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้น...
Read More
ผู้รับผิดชอบโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาวดี ผลประเสริฐ ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ด้วยการกำหนดมาตรฐานควบคุม การระบายน้ำจากทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด โรงพยาบาลจัดเป็นกิจการที่ต้องดำเนินการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะให้ได้ตามคุณภาพน้ำทิ้งที่กำหนด ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุม การระบายน้ำทิ้งจากอาคารประกอบกับปัจจุบันโรงพยาบาลต่าง ๆ เร่งพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายในเพื่อต้องการการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation) ในการรับรองมาตรฐานนี้ ในหัวข้อการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม โดยระบุว่าโรงพยาบาลต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณน้ำทิ้งของโรงพยาบาล มีการดูแลรักษาระบบโดยผู้ที่ได้รับการฝึกอบรม มีการตรวจคุณภาพของน้ำที่ผ่านการบำบัดตามข้อกำหนดของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง น้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดในช่วงเวลาที่ระบบรับภาระมากที่สุดมีค่ามาตรฐานตามที่หน่วยราชการกำหนด และต้องมีระบบฆ่าเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการกำจัดของแข็งละลาย (TDS) ก่อนปล่อยสู่สาธารณะ นอกจากนี้ การดำเนินงานเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียยังต้องจัดทำรายงานการดำเนินงานตามมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ในฐานะเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษด้วย ดังนั้น การจะควบคุมดูแลระบบบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาลให้มีคุณภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐานต่าง ๆ และจัดทำบันทึก และรายงานได้ถูกต้องนั้น จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในการควบคุมดูแลและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที และทราบวิธีการจัดทำบันทึกและรายงานการดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง ทางภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นของเรื่องนี้ จึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการควบคุมและแก้ไขปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาล เพื่อพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานควบคุมดูแล และแก้ไขปัญหาระหว่างการเดินระบบบำบัดน้ำเสียรูปแบบต่าง ๆ ของโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งแนวทางในการรายงานการดำเนินงานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้องด้วย