สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยฯ – สสส. ร่วมพัฒนาอาหารริมบาทวิถี สะอาด ปลอดภัย ลดหวาน-มัน-เค็ม เพิ่มใยอาหาร กระตุ้นผู้ขายใส่ใจสุขภาพ เปิด 3 พิกัด ร้านสตรีทฟู้ด ย่านซอยอารีย์ฟู้ดทรัค กทม. ตลาดราชบุตร จ.อุบลราชธานีเกิน 60% ปรับเพิ่มคุณค่าโภชนาการ
เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ที่อาคารสาธารณสุขวิศิษฎ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงานแถลงข่าว “โครงการการจัดการด้านโภชนาการและสิ่งแวดล้อมของอาหารริมบาทวิถี” โดยมี รศ. ดร.พัชราณี ภวัตกุล ผู้แทนนายกสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นประธานในพิธี และมอบใบประกาศแก่ร้านอาหารที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวนกว่า 60 แห่ง...
Read More
อาหารริมบาทวิถี หรือ “สตรีทฟู้ด” (Street Food) ในประเทศไทยมีเอกลักษณ์และขึ้นชื่อในเรื่องความหลากหลาย และเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประชาชนในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันขยายตัวไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะเมืองที่เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวทั้ง 4 ภาคของประเทศ
เมื่อปี 2561 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เริ่มดำเนินการทำวิจัย จนถึงปัจจุบัน เรื่อง รูปแบบการจัดการอาหารริมบาทวิถี โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) พัฒนารูปแบบการจัดการอาหารริมบาทวิถีด้านโภชนาการและสุขาภิบาลอาหารของอาหารริมบาทวิถี ติดตามคุณภาพอาหารริมบาทวิถี ตรวจสอบคุณภาพอาหารริมบาทวิถีเพื่อพัฒนาคุณภาพอาหารริมบาทวิถีด้านโภชนาการและด้านสุขาภิบาลอาหาร...
ผู้รับผิดชอบโครงการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาวดี ผลประเสริฐ ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ด้วยการกำหนดมาตรฐานควบคุม การระบายน้ำจากทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด โรงพยาบาลจัดเป็นกิจการที่ต้องดำเนินการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะให้ได้ตามคุณภาพน้ำทิ้งที่กำหนด ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุม การระบายน้ำทิ้งจากอาคารประกอบกับปัจจุบันโรงพยาบาลต่าง ๆ เร่งพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายในเพื่อต้องการการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation) ในการรับรองมาตรฐานนี้ ในหัวข้อการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม โดยระบุว่าโรงพยาบาลต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณน้ำทิ้งของโรงพยาบาล มีการดูแลรักษาระบบโดยผู้ที่ได้รับการฝึกอบรม มีการตรวจคุณภาพของน้ำที่ผ่านการบำบัดตามข้อกำหนดของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง น้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดในช่วงเวลาที่ระบบรับภาระมากที่สุดมีค่ามาตรฐานตามที่หน่วยราชการกำหนด และต้องมีระบบฆ่าเชื้อโรคที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการกำจัดของแข็งละลาย (TDS) ก่อนปล่อยสู่สาธารณะ นอกจากนี้ การดำเนินงานเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียยังต้องจัดทำรายงานการดำเนินงานตามมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ในฐานะเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษด้วย ดังนั้น การจะควบคุมดูแลระบบบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาลให้มีคุณภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐานต่าง ๆ และจัดทำบันทึก และรายงานได้ถูกต้องนั้น จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในการควบคุมดูแลและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที และทราบวิธีการจัดทำบันทึกและรายงานการดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง ทางภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นของเรื่องนี้ จึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการควบคุมและแก้ไขปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาล เพื่อพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานควบคุมดูแล และแก้ไขปัญหาระหว่างการเดินระบบบำบัดน้ำเสียรูปแบบต่าง ๆ ของโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งแนวทางในการรายงานการดำเนินงานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้องด้วย