>Sustainable Development Goals (SDGs) >อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน : Industry, innovation and infrastructure

9. อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน : Industry, innovation and infrastructure

บทความ

บทความ

ปี 2565

หัวข้อ รายละเอียด
เติมเต็มสุขภาวะผู้ใช้แรงงาน จัดอบรมออนไลน์ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน ในงานอาชีวอนามัย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้กำหนดให้เสียงที่ดังเกิน 85 dBA (เดซิเบลเอ) เป็นเสียงที่เป็นอันตราย จึงกลายเป็นที่มาของข้อกำหนด เพื่อสุขภาวะของผู้ใช้แรงงานทั่วโลก ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน(SDGs) แห่งสหประชาชาติ ข้อที่ 3 ที่ว่าด้วยเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งครอบคลุมเรื่องการลดการป่วยจากมลพิษต่าง ๆ...

Read More

Weblink link อ้างอิงการดำเนินงาน
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

ปี 2564

หัวข้อ รายละเอียด
"อาหารแห่งอนาคต" รองรับ "สังคมผู้สูงวัย"

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดันงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ พัฒนานวัตกรรมเชิงรุก “อาหารแบบข้นหนืดพร้อมบริโภคเพื่อผู้สูงวัยที่มีภาวการณ์กลืนลำบาก” ตอบโจทย์สังคมในฐานะ “อาหารแห่งอนาคต” พร้อมจับมือเอกชน ดันผลิตภัณฑ์ออกวางตลาดเป็นครั้งแรก

วิกฤติ COVID-19 ทำให้เศรษฐกิจโลกเกิดการชะลอตัวจนถึงเกือบหยุดนิ่งในบางด้าน แต่ผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ยังไม่มีวี่แววว่าจะได้รับผลกระทบจนไปต่อไม่ได้ จากตัวเลขการส่งออกกว่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งมีการเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 20 ในปี พ.ศ. 2563 ชี้ให้เห็นว่า COVID-19 ทำให้ผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้นแค่ไหน

รองศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ เทพานนท์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า คณะฯ มุ่งพัฒนา "นวัตกรรมเชิงรุก" โดยยึดหลักแห่งสุขภาวะ "3P" คือป้องกัน (Prevention) ส่งเสริม (Promotion) และ ปกป้อง(Protection) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งยังได้มองไปถึง เรื่อง การบริการสังคม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกเหนือไปจากการผลักดันงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อให้สามารถใช้ได้จริง และเกิดประโยชน์ต่อสังคมแล้ว อีกจุดมุ่งหมายที่สำคัญ คือ การสร้างองค์ความรู้เพื่อการขยายผลต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อไปในวงกว้าง

Read More

Weblink link อ้างอิงการดำเนินงาน
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

งานวิจัย / การสำรวจ / ผลการศึกษา

งานวิจัย

ปี 2563

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่องานวิจัย การพัฒนาเต้าหู้จากผลิตผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันถั่วดาวอินคา
คณะ/สาขาวิชา ภาควิชาโภชนวิทยา / ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พร้อมลักษณ์ สรรพ่อค้า
ที่มาและความสำคัญ
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา -
วัตถุประสงค์ -
แหล่งทุนสนับสนุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
หน่วยงานที่ร่วมมือ
ผู้มีส่วนได้เสีย -
ระดับความร่วมมือ -
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ (ระบุวันที่มีการนำไปใช้): วันที่ 16 มกราคม 2563 เซ็นสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ "การถ่ายทอดเทคโนโลยีและกรรมวิธีการผลิตโปรตีนขึ้นรูปจากถั่วดาวอินคา" ให้กับบริษัท นิเคโอะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
Weblink link อ้างอิงการดำเนินงาน
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
หัวข้อ รายละเอียด
ชื่องานวิจัย การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ สำหรับผู้ป่วยที่มีเบาหวาน โดยใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบหลัก เพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์นำเข้าจากต่างประเทศ: การพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตอาหารทางการแพทย์
คณะ/สาขาวิชา ภาควิชาโภชนวิทยา / ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภัทร์ ไชยกุล
ที่มาและความสำคัญ -
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา -
วัตถุประสงค์ -
แหล่งทุนสนับสนุน สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
หน่วยงานที่ร่วมมือ -
ผู้มีส่วนได้เสีย -
ระดับความร่วมมือ -
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ (ระบุวันที่มีการนำไปใช้): กำลังยื่นขอจดสิทธิบัตร เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2563 บริษัท ดีโอดี ไบโอเทค ขอใช้สิทธิ์
Weblink link อ้างอิงการดำเนินงาน
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

ปี 2562

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่องานวิจัย Sanitizer Truck: นวัตกรรมรถสูบสิ่งปฏิกูลพร้อมระบบบำบัด
คณะ/สาขาวิชา ภาควิชาวิศวกรรมสุขาภิบาล / ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย ขนาบแก้ว
ที่มาและความสำคัญ ปัจจุบันการกำจัดสิ่งปฏิกูล (Faecal sludge) จากบ้านเรือน ส่วนใหญ่จะถูกขนส่งไปปล่อยทิ้งในสิ่งแวดล้อม หรือพื้นที่รกร้าง เนื่องจากขาดแคลนระบบบบำบัดสิ่งปฏิกูลที่มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูงและมีความต้องการผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ความสามารถ ส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายของมลพิษ อาทิ สารอินทรีย์ ของแข็งแขวนลอย และไนโตรเจน และเชื้อโรคต่างๆ อาทิ พยาธิ และไข่พยาธิ ลงสู่สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะแหล่งน้ำสะอาด ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงที่ใช้น้ำหรือบริโภคสัตว์น้ำในบริเวณดังกล่าว
นวัตกรรมรถสูบสิ่งปฏิกูลได้รับการออกแบบด้วยหน่วยบำบัดน้ำเสียย่อยหลายกระบวนการ และได้รับการทดสอบในห้องปฏิบัติการ (Lab scale) และระดับขนาดจริง (Pilot scale) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการลดปริมาณสารอินทรีย์ ของแข็งแขวนลอย ไนโตรเจน และเชื้อโรคต่างๆ เพื่อให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง และสามารถปล่อยน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดสู่สิ่งแวดล้อมได้ ทั้งนี้กระบวนการบำบัดจะเกิดขึ้นไปพร้อมกับการสูบสิ่งปฏิกูลจากบ้านเรือน จึงทำให้ลดขั้นตอนการก่อสร้างระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลที่มีขนาดใหญ่ ลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และไม่จำเป็นต้องใช้ผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้สูง
ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา -
วัตถุประสงค์ ออกแบบรถเก็บและจัดการสิ่งปฏิกูล เพื่อยับยั้งปัญหาการทิ้งสิ่งปฏิกูลที่ทำลายสิ่งแวดล้อม
แหล่งทุนสนับสนุน สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที)
หน่วยงานที่ร่วมมือ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) และบริษัท Inc Square จำกัด
ผู้มีส่วนได้เสีย -
ระดับความร่วมมือ -
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ (ระบุวันที่มีการนำไปใช้): -
Weblink link อ้างอิงการดำเนินงาน
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

กิจกรรม / โครงการ

--

Conference / Meeting

งานสัมนา/Conference

ปี 2562

หัวข้อ รายละเอียด
ชื่องานสัมนา/Conference การประชุมวิชาการนานาชาติด้านสาธารณสุข ประจำปี 2562 Asia-Pacific Academic Consortium for Public Health Conference 2019 (APACPH 2019) : SDGs in Reality
ที่มาและความสำคัญ -
หัวข้อในการสัมมนา -
สถานที่จัดงาน โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพมหานคร
หน่วยงานที่ร่วมจัด University of Hawaii, Mahidol University, University of Philippines, Peking Medical University, National University of Singapore
บทบาทของหน่วยงาน -
วัตถุประสงค์ -
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 500
ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม 20-22 พฤศจิกายน 2562
ข้อสรุปที่ได้จากงานสัมมนา/Conference (ถ้ามี) -
ผลลัพธ์ที่ได้จากงานสัมมนา/Conference (ถ้ามี) -
Weblink link อ้างอิงการดำเนินงาน
SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ